Skip to content
-
เกรดแม่เหล็ก N30 N35 N42 N52 ?
- แม่เหล็กแรงสูง แบ่งคุณภาพเป็นเกรดแตกต่างกันตามคุณสมบัติ
- เกรดที่มักพบบ่อยๆ เช่น N35 N42 N52 เป็นต้น
- ความแตกต่างของเกรด คือ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแม่เหล็ก
- จากประสบการณ์ผู้เขียน ที่ขายแม่เหล็กแรงสูงมากว่า 8 ปี
- ยังไม่พบว่ามีเครื่องมือวัดค่า ที่สามารถบอกค่าเกรดได้
- หรือกรณีวัดค่า Gauss ก็ยังไม่พบว่ามีมาตรฐานที่สามารถบอกเกรดแบบชัดเจนได้
- ทำให้ บริษัท เหล็กดูด จำกัด ยกเลิกการโฆษณาด้วยคำว่าเกรด N35 N42 N52 แล้ว
- เนื่องจากป้องกันปัญหาที่ว่า ถ้าโฆษณาแล้ว ลูกค้าถามย้อนกลับว่า วัดค่าเกรดยังไง บริษัท ไม่สามารถให้คำตอบแก่ลูกค้าได้นั่นเองครับ
- สำหรับที่อื่นๆ ที่มีการบอกค่าเกรด ให้ลองสอบถามว่า สามารถพิสูจน์ค่าเกรดอย่างไรได้บ้าง เป็นต้นครับ
-
ค่าความคลาดเคลื่อน เช่น (±0.1)mm
- Breif : มีบางร้านขายแม่เหล็กราคาถูกมากแต่ไม่แจ้งค่าความคลาดเคลื่อน เมื่อลองซื้อมา ปรากฎว่าได้แม่เหล็กขนาดที่น้อยกว่าโฆษณาเยอะเช่น โฆษณา 10mm x 5mm แต่สินค้าจริงเป็น 10mm x 4.7mmเป็นต้น
- ในการผลิตแม่เหล็กจะมีส่วนของเนื้อแม่เหล็ก และ วัสดุเคลือบผิว เช่น นิกเกิ้ลสีเงิน
- ซึ่งมีโอกาสที่ขนาดของแม่เหล็กแต่ละชิ้นจะไม่เท่ากัน อาจเกิดค่าความคลาดเคลื่อนของขนาดได้
- ยกตัวอย่างเช่น แม่เหล็กแรงสูงขนาด 12(±0.1)mm x หนา 2(±0.1)mm
- อาจจะเป็นขนาด 11.90mm x 1.90mm
- อาจจะเป็นขนาด 11.95mm x 2.98mm เป็นต้น
- วิธีวัดหาค่าความคลาดเคลื่อน
- วัดโดยการใช้เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนียร์ , ไมโครมิเตอร์
- สำหรับเวอร์เนียร์ดิจิตอล ปากคีบเป็นเหล็ก จากประสบการพบว่าอาจมีการวัดขนาดคลาดเคลื่อนได้ง่าย เนื่องจาก ตอนปรับค่าเป็น0เริ่มต้น ผู้วัดไม่ได้บีบให้แรงเหมือนกับ ตอนวัด ที่มีแรงดูดจากแม่เหล็กดูดปากคีบนั่นเองครับ
- ทำไมต้องให้ความสำคัญกับค่าความคลาดเคลื่อน
- จากประสบการณ์ผู้เขียน พบว่ามีสินค้าบางร้าน ราคาถูกกว่าปกติมาก
- เมื่อลองสั่งมาใช้งานปรากฎว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนสูง
- เช่น สั่งแม่เหล็กขนาด 10mm x 3mm แต่ได้รับสินค้าขนาด 10mm x 2.7mm ซึ่งมีค่าความคลาดเคลื่อน (±0.3)mm
-
ตัวอย่าง แม่เหล็กแรงสูง 10mm x 5mm 20ชิ้น เหมือนกัน แต่ยาวไม่เท่ากัน
-
ค่า Gauss(เกาส์) ไม่ใช่ ค่าแรงดูด !
- คำถามจากลูกค้าที่มักพบบ่อยๆคือ ต้องการแม่เหล็กแรงดูด 4,500เกาส์ มีไหม ?
- คำตอบคือ ไม่มีครับ เนื่องจาก ค่า เกาส์ ไม่ใช่ค่าแรงดูด แต่เป็น ค่าความหนาแน่นเส้นแรงแม่เหล็ก ครับ

- จากภาพเปรียบเทียบด้านบน จะเห็นว่า ถึงแม้ แม่เหล็กจะมีค่าเกาส์ที่สูงกว่า แต่เมื่อดูค่าแรงดูดแม่เหล็ก พบว่าน้อยกว่า
- จึงขอสรุปเบื้องต้นว่า ค่าเกาส์สูง ไม่ได้หมายถึงค่าแรงดูดสูงเสมอไปครับ
- เลือกซื้อแม่เหล็กค่าเกาส์สูงไปต่ำ <<< กดได้เลย ทางบริษัท ได้จัดเรียงสินค้าเพื่อความสะดวกในการเลือกซื้อไว้แล้วครับ

-
แรงดูดแม่เหล็ก ไม่ใช้หน่วยเป็น Kg แต่เป็น KgF
- Breif : กิโลกรัม ไม่ใช่ค่าแรง / ตัวอย่าง แม่เหล็กดูดรับน้ำหนักวัตถุ 1กิโลกรัมแบบนิ่งๆได้ / แต่ถ้ามีการแกว่ง ก็อาจหลุดได้ / มาจากความเร่งเพิ่มขึ้น
- เวลาเลือกซื้อแม่เหล็ก ผู้เขียนมักเห็นคำโฆษณาว่า แรงดูด 18Kg ซึ่งคิดว่าไม่ถูกต้อง
- Kg หรือ กิโลกรัม เป็นค่ามวลของวัตถุ
- ตัวอย่าง วัตถุ 1กิโลกรัม อาจมีค่าแรงแตกต่างกัน เช่น
- วัตถุ 1กิโลกรัม วางอยู่บนผิวดวงจันทร์ แรงที่กระทำต่อผิวดวงจันทร์จะมีค่าประมาณ 1.162กิโลกรัมแรง
- วัตถุ 1กิโลกรัม วางอยู่บนผิวโลก แรงที่กระทำต่อผิวโลกจะมีค่าประมาณ 0.98กิโลกรัมแรง (อ้างอิง ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ – Bangkok Planetarium)
- วัตถุ 1กิโลกรัม ตกจากที่สูง กระทบผิวโลก ค่าแรงที่กระทำต่อผิวโลก อาจจะสูงกว่า 0.98กิโลกรัมแรง ตามปัจจัยต่างๆเช่น ระยะเวลาที่ตก , ลักษณะการตก เป็นต้น
- ทีนี้ขอกลับมาที่แรงดูดแม่เหล็กนะครับ
- สมมติว่า ผู้ขายโฆษณะว่า แม่เหล็ก สามารถดูดรับน้ำหนักได้ 18กิโลกรัม ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้จริงๆ แต่เป็นแบบนิ่งๆ (ไม่มีการเพิ่มความเร่ง)
- แต่มีปัจจัยอื่นๆเพิ่มเข้ามาทำให้ความเร่งเพิ่มขึ้น เช่น ลมพัด , การแกว่งของวัตถุ ก็อาจจะทำให้แม่เหล็กหลุดจากการดูดได้ครับ
- ดังนั้นในการเลือกซื้อแม่เหล็ก ลูกค้าควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยครับ เช่น มีลมพัดไหม , มีการแกว่งไหม ฯลฯ
-
แรงดูดแม่เหล็ก มีทั้ง แรงดึงหลุด , แรงที่รับได้
- Breif : แรงดูดแม่เหล็กมีหลายรูปแบบ เช่น แรงดึงหลุด , แรงที่สามารถรับได้
- แรงดูดของแม่เหล็กมีหลายรูปแบบ
- เปรียบให้เห็นภาพง่ายๆ
- เชือก1เส้น สามารถรับน้ำหนักได้หลายช่วง ตั้งแต่ 1กรัมแรง
- และ อาจจะสูงถึง 10กิโลกรัมแรง ถ้ารับน้ำหนักเกิน 10กิโลกรัมแรง เชือกจะขาด
- จุดที่เชือกขาดนี้ ผู้เขียนขอเรียกว่า ค่าพีค(Peak)
- แรงดูดแม่เหล็กก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนเลือกใช้วิธีหาค่าแรงดึงหลุด ของแม่เหล็ก จากการดูดเหล็ก เป็นหลัก
- เพื่อหาค่า Peak ของแรงดูดแม่เหล็ก เป็นค่า LSPF3p และ นำค่าดังกล่าว 50%มาเป็นค่าแรงดูดแนะนำ LDPF3s นั่นเองครับ
- ในการเลือกซื้อแม่เหล็ก แนะนำให้ผู้ซื้อสอบถามผู้ขายว่า ค่าแรงดูดที่โฆษณา ทดสอบด้วยวิธีไหน และ เป็นค่าแรงดูดแบบไหน เป็นต้นครับ
- วิดีโอตัวอย่างการทดสอบหาค่าแรงดึงหลุด(Peak) ค่าแรงดูดแม่เหล็กแบบที่ 3 แม่เหล็ก+เหล็ก แนวตรง ที่พัฒนาโดย บริษัท เหล็กดูด จำกัด
-
แม่เหล็กแรงสูง แต่เปราะแตกง่าย
- แม่เหล็กแรงสูง นีโอไดเมียม หรือ NDFeB
- ถึงแม้จะมีเหล็ก(Fe,iron) เป็นส่วนผสมร่วมกันกับ โบรอน(B,Boron) , นีโอไดเมียม(ND,Neodymium)
- แต่ไม่ได้มีความแข็งแกร่งแบบเหล็ก
- โดยส่วนมาก ถ้าปล่อยแม่เหล็กให้ดูดกระทบกันเองโดยตรง มีโอกาสสูงมากที่แม่เหล็กจะแตกเสียหายได้
- ให้เปรียบเทียบง่ายว่า แม่เหล็กเหมือนฆ้อนเล็กๆที่มีความเปราะ
- การปล่อยให้แม่เหล็กดูดกระทบกัน เปรียบเทียบเหมือน ฆ้อนเล็กๆทุบกันแตกนั่นเองครับ